Insulation Test
ทดสอบตามมาตรฐานก็ทำได้ คือการป้อนแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (Vdc) เข้าไปที่สายไฟ โดยขนาดไม่เกินพิกัดแรงดันที่ใช้ในการทดสอบจะต้องไม่สูงกว่าแรงดันพิกัดของสายนั้น เช่น สายระบุว่าแรงดันใช้งานอยู่ที่ 500V ก็จะต้องทดสอบโดยใช้แรงดันไม่เกิน 500V ข้อควรระวังในการทดสอบจะต้องปลดสายทั้งสองฝั่งออกจากเบรกเกอร์ และโหลดที่ต่ออยู่ เพราะเรากำลังป้อนแรงดันเข้าไป 500V เข้าไปหากปลายสายมีการต่อโหลดอยู่จะทำให้โหลดเสียหายได้ และเรากำลังวัดค่าความเป็นฉนวนเฉพาะของสายไฟ ดังนั้นที่ปลายสายจะต้องปล่อยลอยไว้ ไม่สัมผัสกับวัสดุอะไรที่สามารถนำกระแสลงดินได้ โดยการทดสอบจะป้อนแรงดันเข้าไปเป็นคู่ เช่น R-S, S-T, T-R, R-N, S-N, T-N, R-G, S-G, T-G โดยปกติสายที่ไม่มีปัญหาก็จะค่าความต้านทานของฉนวนสูงเป็น 1 เมกะโอห์ม (1,000,000 ohm) หรือ สูงกว่า บ้างครั้งอาจจะสูงจนเครื่องอ่านเป็นอินฟินิตี้ ก็คือสูงเกินค่าของเครื่องที่จะอ่านได้ ก็ให้บันทึกค่าสูงสุดของเครื่องไว้ในตาราง โดยอ้างอิงตามมาตรฐาน IEC60364-6 : 2016 สำหรับการทดสอบที่แรงดัน 500Vdc และ 1000Vdc สายไฟที่ยังมีค่าความเป็นฉนวนอยู่ในค่าที่ย่อมรับได้คือไม่ต่ำกว่า 1 เมกะโอห์ม (ตามตารางในรูป) การป้อนแรงดันไฟฟ้าเข้าไปที่สายไฟก็เหมือนการป้อนแรงดันน้ำเข้าไปในท่อ หากมีจุดใดเสียหายท่อน้ำก็จะแตกหรือมีน้ำรั่วออกมา เช่นเดียวกับการทดสอบความเป็นฉนวนของสายไฟหากมีจุดใดฉนวนมีปัญหาก็จะทำให้เกิดกระแสไฟรั่วหรือวัดค่าความต้านทานของฉนวนได้ต่ำ หลักการของเครื่องทดสอบฉนวนก็คือ เราป้อนแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงไปที่คงที่ไปตกคร่อมสายไฟ แล้ววัดปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านสายไฟ โดยคำนวณจากกฎของโอห์มเพื่อหาค่าความต้านทานนั้น หากมีกระแสไฟรั่วเยอะก็จะทำให้ค่าความต้านทาน (Resistance) ที่วัดได้ต่ำ หากมีกระแสรั่วน้อยหรือฉนวนดีค่าความต้านทานที่วัดได้ก็จะออกมาสูง (R = V/I) การวัดค่าความเป็นฉนวนของสายไฟฟ้ามีมาตรฐานที่กำหนดโดยองค์กรระหว่างประเทศและหน่วยงานมาตรฐานในแต่ละประเทศ เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยและประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้า มาตรฐานหลักที่เกี่ยวข้องมีดังนี้: วิธีการวัดค่าความเป็นฉนวน การวัดค่าความต้านทานฉนวน (Insulation Resistance - IR) มักใช้ Megger (Insulation Tester) โดยมีหลักการดังนี้: 1. แรงดันทดสอบ (ตามมาตรฐาน): - สายไฟแรงดันต่ำ (≤ 1,000 V) : 500–1,000 V DC - สายไฟแรงดันสูง (> 1,000 V) : 2,500–5,000 V DC 2. เงื่อนไขการทดสอบ: - อุณหภูมิและความชื้นต้องอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด (มักอ้างอิงที่ 20–30°C) - ค่าความต้านทานฉนวนควรมีค่าไม่ต่ำกว่า 1 MΩ (ขึ้นกับมาตรฐานเฉพาะ)
เกณฑ์การยอมรับ - IEC 60364-6 : ค่าความต้านทานฉนวนขั้นต่ำควรอยู่ที่ 0.5 MΩ สำหรับระบบแรงดันต่ำ (แต่ค่าที่แนะนำมักสูงกว่า 1 MΩ) - IEEE 43 : ค่าความต้านทานฉนวนของมอเตอร์ควรมีค่า ≥ (แรงดันใช้งาน + 1,000) V / 1 MΩ
*ปัจจัยที่มีผลต่อค่าฉนวน** - อุณหภูมิ (ค่าฉนวนลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น) - ความชื้น (ความชื้นสูงทำให้ค่าฉนวนต่ำลง) - อายุการใช้งาน (ฉนวนเสื่อมสภาพตามเวลา)
หากค่าความต้านทานฉนวนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน แสดงว่ามีความเสี่ยงไฟฟ้ารั่วหรือช็อต ต้องตรวจสอบและแก้ไขก่อนใช้งานเสมอ
Relate topics
- PM ตู้ โรงงานผลิตถุงมือยาง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ภาคใต้ ประเทศไทย
- ตรวจรับรองไฟฟ้าโรงงานประจำปี 2568 โรงงานเฉาก๊วยสงขลาชากังราว อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ภาคใต้ ประเทศไทย
- Fire Alarm Inspection Wi-Fi System
- PM Fire Pump Inspection 2568
- PM Generator Set 385kVA
- บริการให้เช่า BOOM LIFT ,X-LIFT ,PERSONEL LIFT ,MOBILE CRANE
- กรองน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า จ.สงขลา ภาคใต้ ประเทศไทย
- ACB Inspection & Preventive maintenance Schlumberger Yard อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ภาคใต้ ประเทศไทย
- RMU Inspection
- ตรวจรับรองไฟฟ้าโรงงานประจำปี 2568 โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ อ.เมือง จ.สงขลา ภาคใต้ ประเทศไทย